เช้ามืด 15 ตุลาคม 2567 “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ครั้งสุดท้ายของปี เห็นได้บางพื้นที่ในไทย

เช้ามืด 15 ตุลาคม 2567 “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ครั้งสุดท้ายของปี เห็นได้บางพื้นที่ในไทย
Spread the love

เช้ามืด 15 ตุลาคม 2567 “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ครั้งสุดท้ายของปี เห็นได้บางพื้นที่ในไทย

                 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยเช้ามืด 15 ตุลาคม 2567 เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์”  เวลาประมาณ  02:19 – 03:00 น. (เวลาท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่นช่วงเวลาการบังอาจจะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน) เมื่อมองจากโลกจะเห็นดวงจันทร์จะค่อย ๆ เคลื่อนมาบังดาวเสาร์ จนดาวเสาร์ลับหายไปหลังดวงจันทร์ และกลับมาปรากฏอีกครั้ง หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน ในไทยสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าเฉพาะภาคเหนือ บางส่วนของภาคกลาง บางส่วนของภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพื้นที่อื่นจะเห็นเป็นปรากฏการณ์ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ตลอดคืน

               นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์​ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันที่ 15 ตุลาคม 2567 จะเกิด “ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ช่วงก่อนรุ่งเช้าเวลาประมาณ 02:19 – 03:00 น. ประเทศไทยสังเกตเห็นได้เฉพาะบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ บางส่วนของภาคกลาง บางส่วนของภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพื้นที่อื่นจะสังเกตเห็นเป็นปรากฏการณ์ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ จนถึงรุ่งเช้า

 

เช้ามืด 15 ตุลาคม 2567 “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ครั้งสุดท้ายของปี เห็นได้บางพื้นที่ในไทย

               ในวันดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 13 ค่ำ ปรากฏการณ์เริ่มเวลาประมาณ 02:19 น. เมื่อมองจากโลกจะเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ เคลื่อนมาบังดาวเสาร์ จนดาวเสาร์ลับหายไปหลังดวงจันทร์ฝั่งพื้นที่ผิวส่วนมืด และโผล่พ้นออกมาทั้งดวงอีกครั้งฝั่งเสี้ยวสว่าง เวลาประมาณ 03:00 น. (ข้อมูลดังกล่าวคำนวณจากพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่น ช่วงเวลาของการบังอาจจะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน)   

เช้ามืด 15 ตุลาคม 2567 “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ครั้งสุดท้ายของปี เห็นได้บางพื้นที่ในไทย

 

 

            นายศุภฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบังกันของวัตถุท้องฟ้า (Occultations) เป็นปรากฏการณ์ที่วัตถุท้องฟ้าหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านหน้ามาบังอีกวัตถุหนึ่งเมื่อสังเกตจากแนวสายตา อาทิ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังกันเอง เป็นต้น เราสามารถใช้ปรากฏการณ์นี้คำนวณหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ คำนวณหาระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ตรวจหาและศึกษาโครงสร้างของชั้นบรรยากาศ รวมถึงการใช้ตรวจหาวงแหวนของดาวเคราะห์ชั้นนอกได้อีกด้วย เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัยดาราศาสตร์

             ผู้สนใจสามารถติดตามชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตาเปล่า หรือรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์บังดาวเสาร์” ผ่านทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 01:30 น. เป็นต้นไป    

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Leave a Comment

Verified by ExactMetrics