ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติรับรางวัล IAU Astronomy Outreach Prize 2024 คนแรกของเอเชีย

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติรับรางวัล IAU Astronomy Outreach Prize 2024 คนแรกของเอเชีย
Spread the love

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติรับรางวัล IAU Astronomy Outreach Prize 2024

คนแรกของเอเชียกับบทบาทผู้นำองค์กร ขับเคลื่อนดาราศาสตร์สู่สังคม

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติรับรางวัล IAU Astronomy Outreach Prize 2024 คนแรกของเอเชีย

            6 สิงหาคม 2567 – ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รับรางวัล “IAU Astronomy Outreach Prize 2024” ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ The International Astronomical Union (IAU) General Assembly 2024 ณ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

ด้วยวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น ริเริ่ม สนับสนุน ส่งเสริมการนำดาราศาสตร์ให้เข้าถึงบุคคลในทุกระดับ สร้างทีมงานบริการวิชาการและสื่อสารดาราศาสตร์ที่เข้มแข็ง จนทำให้ “สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” หรือ NARIT เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และได้รับการยอมรับให้เป็นหน่วยงานที่มีการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างความตระหนัก ความตื่นตัวทางดาราศาสตร์ และสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย และก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านดาราศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติรับรางวัล IAU Astronomy Outreach Prize 2024 คนแรกของเอเชีย

ดร. ศรัณย์ มีบทบาทสำคัญในการวางโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ระดับโลกให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทย ด้วยการผลักดันให้มีกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ขนาด 2.4 เมตร และกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ขนาด 40 เมตร ร่วมก่อตั้งอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ที่นอกจากจะเป็นสำนักงานใหญ่ของ NARIT แล้ว ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์เต็มรูปแบบ และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนอีก 5 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงกล้องโทรทรรศน์ และแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว บอตสวานา เมียนมา เป็นต้น ปัจจุบัน NARIT ให้บริการวิชาการดาราศาสตร์แก่ประชาชน ครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ มากกว่า 700,000 คนต่อปี ทั้งหมดนี้ ยังส่งผลต่อภาคการศึกษา ทำให้ “ดาราศาสตร์” ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยอีกด้วย

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล ODE Prize ในครั้งนี้ การได้รับการยกย่องอันทรงเกียรตินี้ไม่ใช่เพียงความสำเร็จส่วนบุคคล แต่ยังเป็นของบุคลากร NARIT ทุกคน ที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเททำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ที่จะใช้ “ดาราศาสตร์” เปิดประตูสู่โลกวิทยาศาสตร์ เหนี่ยวนำคนไทยให้มีกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเรายังคงมุ่งมั่นที่จะใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สรรสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาคมโลกต่อไป”

รางวัล IAU Astronomy Outreach, Development and Education (ODE) ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินทุนจาก อดีตประธาน Ewine van Disoeck ของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ IAU เพื่อเชิดชูบุคคล และองค์กรที่มีผลงานโดดเด่นในด้านดาราศาสตร์ การพัฒนา และการศึกษา ในปี 2567 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อจากทั่วโลกทั้งหมด 62 ราย โดยคณะกรรมการรางวัล ODE และคณะกรรมการบริหารของ IAU ได้อนุมัติผู้ได้รับรางวัลประจำปีนี้ จำนวน 3 รางวัล ดังนี้

– ด้านการบริการวิชาการ (Outreach): ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา

   https://www.narit.or.th/index.php/en-home/en-executive-director/3967 

– ด้านการพัฒนา (Development): Central American-Caribbean Bridge in  Astrophysics (Cenca Bridge)

   https://cencabridgeastro.weebly.com/ 

– ด้านการศึกษา (Education): Linda Strubbe and Bonaventure Okere

  https://www.paseaafrica.org/ 

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.iau.org/news/pressreleases/detail/iau2407

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics