ทีม Galact3x โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นสุดยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567

ทีม Galact3x โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นสุดยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567
Spread the love

ทีม Galact3x โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นสุดยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567

ทีม Galact3x โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นสุดยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567

             20 สิงหาคม 2567 – นนทบุรี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยสุดยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567 “ทีม Galact3x” จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม คว้ารางวัลชนะเลิศ จากเวทีแข่งขันออกแบบโครงการสำรวจอวกาศระดับเยาวชน (Space Youth Challenge 2024) จัดแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ณ เวทีกลาง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2567 อิมแพ็ค เมืองทองธานี 

ทีม Galact3x โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นสุดยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567

            ดร. วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประธานกรรมการตัดสินกล่าวว่า  การแข่งขันออกแบบโครงการสำรวจอวกาศระดับเยาวชน “Space Youth Challenge” จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในปี 2567 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้หลักทางฟิสิกส์ และออกแบบการสำรวจอวกาศเสมือนจริง ท้าทายความสามารถ และสร้างประสบการณ์แก่นักเรียนที่จะสร้างสรรค์กระบวนการคิด และจินตนาการเสมือนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติการจริง ๆ รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอยู่ติดตัวนักเรียนไปตลอด และไม่ว่าจะเป็นโครงการอวกาศใหญ่แค่ไหนก็ไม่สามารถสำเร็จลุล่วงได้
หากปราศจากสิ่งเหล่านี้  ในปีนี้มีเหล่าเกมเมอร์สนใจเข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดกระแสความตื่นตัวในวงกว้าง โครงการดังกล่าวถือเป็นตัวช่วยผลักดันไปสู่การสร้างกำลังคนด้านการวิจัยอวกาศสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นกับเด็กรุ่นใหม่ เยาวชนของชาติอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

            ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศ ภายใต้โครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย เป้าหมายแรก คือสร้างดาวเทียมฝีมือคนไทยไปโคจรรอบดวงจันทร์ แม้ดวงจันทร์จะเป็นเป้าหมายของภารกิจนี้ แต่สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นมากที่สุด คือการพัฒนากำลังคน พัฒนาเทคโนโลยี และพัฒนาศักยภาพด้านอุตสาหกรรมอวกาศเพื่อให้ไทยเทียบเท่าระดับสากล นอกจากภาคีความร่วมมืออวกาศไทยหรือ Thai Space Consortium ที่กำลังพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย ขณะนี้วิศวกรของ NARIT กำลังพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ ชื่อว่า “MATCH” หรือ Moon Aiming Thai-Chinese Hodoscope ที่จะติดตั้งไปกับยานฉางเอ๋อ 7 ของประเทศจีน และมีกำหนดเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ในปี 2026 รวมถึงกำลังจะมีห้องประกอบดาวเทียมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธรเป็นห้องปฏิบัติพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และศึกษาวิจัยด้านอวกาศ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและกำลังคนด้านอวกาศของไทย ให้เทียบเท่าระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนที่กำลังเติบโตและจะมารับไม้ต่อในทุก ๆ ภารกิจต่าง ๆ ในประเทศ เราจึงจะทำให้ห้องปฏิบัติการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงของ NARITเป็นห้องเรียนแห่งใหม่ ที่จะเปิดให้เยาวชนได้มาเรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ และเปิดรับนักศึกษาฝึกงานเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนางานวิจัยด้านอวกาศของจริง

                  ดร. วิภู กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้เรายังได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากบริษัท Private Division บริษัท ผู้จัดจำหน่ายเกม Kerbal Space Program เกมแนว space simulator ที่นำมาใช้ในการแข่งขัในครั้งนี้อีกเช่นเคย รวมถึงการสนับสนุนจากบริษัท ชิชาง คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดมอบเครื่องเล่นเกม PlayStation 5 และสื่อออนไลน์ SPACETH.CO มอบเงินรางวัลในการแข่งขันครั้งนี้ 

                สำหรับการแข่งขันยอดเยาวชนคนอวกาศ ประจำปี 2567 (Space Youth Challenge 2024)มีเยาวชนส่งผลงานการออกแบบโครงการสำรวจอวกาศเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 50 ทีมจากทั่วประเทศ คณะกรรมการได้คัดเลือก จำนวน 10 ทีม เพื่อผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ผลการแข่งขันทั้งหมดเป็นดังนี้
                รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Galact3x โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับทุนการศึกษา 25,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และเครื่องเล่นเกม PlayStation 5 สนับสนุนโดย บริษัท ชิชาง คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด จำนวน 1 ชุด  

 

                รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม su su su supernova โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ได้รับทุนการศึกษา 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์รับทุนการศึกษา 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

               รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมได้เวลาฮีโร โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล  กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนการศึกษา 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

 

นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลการนำเสนอโดดเด่น รับทุนการศึกษา 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรรางวัลชมเชย จำนวน 7 ทีม ได้รับทุนการศึกษาทีมละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร  ได้แก่
          – ทีม Prospero โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ. นครปฐม และรับรางวัลสนับสนุนจาก SPACETH.CO
          – ทีม Lynx Star โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม จ. บึงกาฬ
          – ทีม Laythe Conquerer โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพมหานคร
          – ทีม SA ROBOT 1 โรงเรียนสา จ. น่าน
          – ทีม CUD Magnetic โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพมหานคร
          – ทีม CaptainSpacetech โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
          – ทีมเจาะแจะดาราศาสตร์ โรงเรียนบุญวัฒนา จ. นครราชสีมา

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics