มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล จัดท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชื่อมโยงรูปแบบแคมปิง บนฐานการเรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล

Spread the love

มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล จัดท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชื่อมโยงรูปแบบแคมปิง บนฐานการเรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล

มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล จัดสัมมนาถ่ายทอดองค์ความรู้และการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานการเรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล เชื่อมโยงรูปแบบแคมปิง ชูความโดดเด่นด้านอาหารพื้นถิ่น เพิ่มมูลค่าผลิตผลด้านเกษตร

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) วิทยาเขตสตูล จัดสัมมนาถ่ายทอดองค์ความรู้และการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานการเรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล เชื่อมโยงรูปแบบแคมปิง (Camping) ณ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล โดยมี นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวรายงานโดย ผศ.ดร.อนุมัติ เดชนะ รองอธิการบดีวิทยาเขตสตูล เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าการดำเนินงานการเกษตร โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ บนฐานการเกษตรโคกหนองนาโมเดลในรูปแบบการจัดแคมปิง

ผศ.ดร.อนุมัติ เดชนะ รองอธิการบดีวิทยาเขตสตูล กล่าวว่า มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล ดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทุ่งใหญ่สารภีโมเดล อย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาฐานการรู้ด้านการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 7 ฐาน ได้แก่ 1. ฐานการบริหารจัดการพื้นที่รูปแบบ โคก หนอง นา 2. ระบบโรงเรียนอัจฉริยะ 3. การทำปุ๋ยหมักและการปรุงดินระบบดินทรีย์ 4. การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย 5. ธนาคารต้นไม้ 6. นวัตกรรมด้านการเกษตร (ระบบให้น้ำในแปลงเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และระบบทุ่นลอยในการวัดคุณภาพน้ำแบบ real time) และ 7. การอบแห้ง/แปรรูปผลิตภัณฑ์ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นที่พึ่งในเชิงวิชาการของชุมชนอย่างแท้จริง

ด้าน นายคณิต คงช่วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า นโยบายการพัฒนาจังหวัดสตูล มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนตลอดมา ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งเป็นการสื่อให้เห็นถึงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าการดำเนินงานด้านการเกษตร โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นการจัดงานในรูปแบบแคมปิงในครั้งนี้ ยังเป็นแนวทางและเครื่องมือสำคัญให้กับชาวบ้านและชุมชน ด้วยการใช้ Soft power ด้านอาหารพื้นถิ่นเป็นกิจกรรม เพื่อหนุนเสริมและชูความโดดเด่นด้านอาหารของจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน พัฒนาคน สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป

ขอบคุณรูปจากเพจ เช็คอิน สตูล l Check-in Satun

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics