มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power
Spread the love

มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power

มรภ.สงขลา ขานรับนโยบาย Soft Power จัดกิจกรรมแต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า เพิ่มศักยภาพชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ชวนคนรุ่นใหม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์สงขลา ผ่านมุมมองการถ่ายภาพ

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดกิจกรรมแต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า เพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เรียนรู้ประวัติศาสตร์สงขลา ณ ชุมชนบ้านหัวเขา อ.สิงหนคร พิธีเปิดโดย รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 วันที่ 13 กรกฎาคม 2567 เส้นทางท่องเที่ยว วัดสุวรรณคีรี วัดบ่อทรัพย์ วัดศิริวรรณาวาส วัดภูผาเบิก และ รอบที่ 2 วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 เส้นทางท่องเที่ยวป้อมเมืองเก่าสงขลา และ เจดีย์องค์ขาว องค์ดำ โดยมีนักวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสำคัญของแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจต่าง ๆ

รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ กล่าวว่า กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นไทยด้วยการแต่งกายชุดไทย และผลักดัน Soft Power ความเป็นไทย ส่งเสริมการต่อยอดนำคุณค่าวัฒนธรรมมาสร้างสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ซึ่งในฐานะที่ มรภ.สงขลา เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการจัดการศึกษา วิจัยบริการวิชาการ บูรณาการศิลปวัฒนธรรมสร้างคุณค่าและมูลค่า ในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ให้มีศักยภาพในการจำหน่าย สร้างรายได้ในชุมชนท้องถิ่นและสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

ดังนั้น มรภ.สงขลา โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จึงได้จัดกิจกรรมแต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า เพื่อส่งเสริมและผลักดัน Soft Power ด้านท่องเที่ยวด้วยมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม และกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเรียนรู้ผ่านมุมมองของการถ่ายภาพ ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้เยาวชนได้สัมผัสวัฒนธรรมไทยในมุมมองใหม่ ด้วยการผนวกเทรนด์ของสังคมปัจจุบันเข้ากับการท่องเที่ยวในมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม และยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนโดยรอบพื้นที่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ เช่น ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร ตลอดจนรถโดยสารสาธารณะและเรือโดยสารข้ามฟาก

นอกจากนั้น ยังสอดรับกับนโยบาย Soft Power ของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้กำหนดขอบข่าย Soft Power 5 ด้าน หรือนโยบาย 5F ได้แก่ 1. อาหาร (Food) 2. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3. ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่น (Fashion) 4. มวยไทย (Fighting) และ 5. การอนุรักษ์และขับเคลื่อน เทศกาล ประเพณีสู่ระดับโลก (Festival) ซึ่งบทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นหน่วยงานที่รวบรวมองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D (Research and Development) ทั้งในด้านวิชาการ กระบวนการ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ให้มีความเชี่ยวชาญและมีสมรรถนะสูง ในการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คำนึงถึงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (KPIs and Targets) กลยุทธ์ด้านการรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ยกระดับสู่ชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยชุมชนเป้าหมายในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ 38 แห่ง ผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy)

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics