มรภ.สงขลา เปิดเวทีสัมมนาและบรรยายพิเศษ  “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ วิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก”

มรภ.สงขลา เปิดเวทีสัมมนาและบรรยายพิเศษ  “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ วิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก”
Spread the love

มรภ.สงขลา เปิดเวทีสัมมนาและบรรยายพิเศษ  “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ วิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก”

มรภ.สงขลา จัดสัมมนาและบรรยายพิเศษ “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ วิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก” เทียบเชิญวิทยากรร่วมถ่ายทอดความรู้ มุ่งพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ค้นหาจุดเด่นด้านการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาท้องถิ่น นำไปต่อยอดในการดำเนินงาน พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง

มรภ.สงขลา เปิดเวทีสัมมนาและบรรยายพิเศษ  “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ วิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก”

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดสัมมนาและบรรยายพิเศษ เรื่อง “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ และวิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารศูนย์รวมกิจการนักศึกษา มรภ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความสามารถ และพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนให้พร้อมรองรับการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก ให้กับบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน ตลอดจนเพื่อค้นหาจุดเด่นด้านการศึกษา จุดเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม และจุดเด่นด้านการพัฒนาท้องถิ่นให้มหาวิทยาลัย สำหรับนำไปต่อยอดในการดำเนินการ SKRU Transformation ต่อไป และเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาให้ก้าวทันโลก

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การสัมมนา เรื่อง “ค้นหาจุดเด่นด้านการศึกษา จุดเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม และจุดเด่นด้านการพัฒนาท้องถิ่น” และ การสัมมนา เรื่อง “การจัดการศึกษารูปแบบใหม่” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฏ ประธานร่วม สมาคมสหกิจศึกษาโลก นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย และ น.ส.ภาณิศา หาญพัฒนนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมอุดมศึกษาและการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นวิทยากร

นอกจากนั้น ยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิกฤตอุดมศึกษาไทยและทางออก” โดย ศ.กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมฟังกว่า 300 คน ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทั้งนี้ การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ รวมไปถึงการหาทางออกเกี่ยวกับวิกฤตอุดมศึกษาไทย จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและการสืบค้นด้วยตนเอง มากกว่าการใช้บุคลากรทางการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้มาเป็นผู้กำกับดูแลและให้คำปรึกษาการสืบค้นข้อมูล การใช้ข้อมูลที่เหมาะสม การเรียนรู้จะอาศัยการศึกษาจากสภาพจริงของสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียน การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ใช้เทคโนโลยี ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรม สังคมจะปรับตัวตามเทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาในอนาคตจึงต้องปรับตัวตามเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประเทศไทย 4.0 และการจัดการศึกษารูปแบบใหม่จะช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีความรับผิดชอบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้เป็น มีความสามารถในการทำงาน แก้ไขปัญหา และแข่งขันทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics