ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2567

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2567
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2567

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2567 เปรียบเทียบเดือนพฤษภาคม 2567  และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการ พฤษภาคม 2567 มิถุนายน 2567 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 29.30 46.10 24.60 29.20 45.80 25.00 34.50 51.30 14.20
2. รายได้จากการทำงาน 27.20 46.50 26.30 27.30 45.10 27.60 31.30 45.70 23.00
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 32.30 46.90 20.80 32.40 46.80 20.80 30.40 47.60 22.00
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 29.50 45.40 25.10 29.10 45.60 25.30 36.80 49.20 14.00
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.40 47.40 25.20 27.50 46.20 26.30 34.20 57.20 8.60
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 28.20 47.10 24.70 28.00 46.30 25.70 30.10 54.60 15.30
7. การออมเงิน 26.50 46.10 27.40 26.80 46.00 27.20 30.40 48.90 20.70
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.60 45.30 27.10 27.40 45.00 27.60 30.30 48.60 21.10
9. การลดลงของหนี้สิน 27.10 46.20 26.70 26.70 45.80 27.50 34.60 45.20 20.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.80 45.20 28.00 26.50 45.30 28.20 36.10 52.00 11.90
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 24.60 45.90 29.30 24.50 45.10 30.40 35.80 52.10 12.10
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 26.20 45.20 28.60 26.50 45.40 28.10 37.40 45.20 17.40
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 28.10 46.60 25.30 27.60 45.70 26.70 34.10 55.80 10.10

  

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน 2567

รายการ 2567
เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 50.50 49.40 49.10
2. รายได้จากการทำงาน 44.60 43.90 43.80
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 60.70 60.70 60.80
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 52.10 49.50 49.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 51.80 50.30 50.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 44.00 43.30 43.20
7. การออมเงิน 41.90 41.10 41.10
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.00 39.00 38.90
9. การลดลงของหนี้สิน 47.40 47.20 46.60
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 43.60 43.80 43.80
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 38.20 38.60 38.40
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.10 35.00 35.00
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 41.60 41.10 40.70
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 47.50 44.90 44.60

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2567

                ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2567 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนมิถุนายน (44.60) ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม  (44.90) และเดือนเมษายน  (47.50) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม  รายได้จากการทำงาน  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย)  การออมเงิน การลดลงของหนี้สิน  การแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ภาวะค่าครองชีพของครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งประชาชนที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย จำเป็นต้องประหยัดเงิน โดยลดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันลง  จึงทำให้การใช้จ่ายของประชาชนมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งหากไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ ย่อมทำให้หนี้สินครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ภาระหนี้สินของประชาชนมีมากกว่าร้อยละ 91 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยส่วนหนึ่งเป็นหนี้นอกระบบ ถึงแม้ภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ย และจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่ทำผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งหากประชาชนยังมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และไม่สามารถกู้เงินในระบบได้ ประชาชนเหล่านี้ก็จำเป็นต้องพึ่งหนี้นอกระบบ แม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงมากเพียงใดก็ตาม  ทั้งนี้ ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้กับประชาชน 50 ล้านคน จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับฐานรากขึ้นไป และกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และหมุนกลับมาเป็นเงินภาษีให้กับภาครัฐต่อไป

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวล ความคาดหวัง และความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ประชาชนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายขยายระยะเวลาการเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้กับชาวต่างชาติ จากเดิมต่างชาติสามารถเช่าได้สูงสุด 30 ปี เปลี่ยนเป็นสามารถเช่าได้สูงสุด 99 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากเกินกว่าอายุขัยของชีวิตคน หากกฎหมายฉบับนี้ถูกประกาศใช้ ก็จะทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของประเทศแทบจะหมดโอกาสที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และต้องไปเช่าที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติแทน ทั้งที่ความเป็นจริง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่มีที่ดินและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองเลย ทั้งนี้ ประชาชนต้องการให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทบทวนการแก้กฎหมายดังกล่าว โดยขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่านายทุนต่างชาติและผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  2. ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายหวยเกษียณที่จัดทำขึ้นเพื่อออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ซึ่งหวยเกษียณนั้นเป็นสลากสะสมทรัพย์ยามเกษียณ โดยส่งเสริมการออมให้กับคนในวัยทำงานที่ไม่มีบำเหน็จ บำนาญเพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ ซึ่งจะมีการออกรางวัลทุกสัปดาห์ โดยมีรางวัลที่ 1 รางวัลละ 1 ล้านบาท จำนวน 5 รางวัล และรางวัลที่ 2 รางวัลละ 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล สำหรับผู้ที่ซื้อสลากใบละ 50 บาท ขณะที่จุดเด่นของหวยเกษียณ คือ หากไม่ถูกรางวัล เงินที่ซื้อสลากจะไม่หายไป แต่จะถูกเก็บสะสมเป็นเงินออม และสามารถถอนเงินออกมาได้เต็มจำนวนเมื่ออายุครบ 60 ปี ทั้งนี้ ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่า การออกรางวัลทุกสัปดาห์จะเป็นการมอมเมาประชาชนมากจนเกินไป โดยให้ภาครัฐพิจารณาการออกหวยทุก 2 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มเงินรางวัลให้มีความน่าสนใจและมีความหลากหลายมากขึ้น โดยจำนวนเงินที่ต้องจ่ายยังคงเท่าเดิม อาทิ รางวัลที่ 1 ( 5 ล้านบาท จำนวน 1 รางวัล) รางวัลที่ 2 ( 1 ล้านบาท จำนวน 5 รางวัล)  รางวัลที่ 3 (1 แสนบาท จำนวน 100 รางวัล)  รางวัลที่ 4 (1 พันบาท จำนวน 10,000 รางวัล) เป็นต้น
  3. จากการที่ภาครัฐจะเปิดให้มีหวย 3 ตัว หรือสลากกินแบ่งรัฐบาล 3 หลัก แต่ละหลักมี 10 หมายเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 9 เป็นการจำหน่ายเฉพาะแบบดิจิทัล โดยให้ผู้ซื้อสามารถเลือกหมายเลขแต่ละหลักได้ และสามารถเลือกหมายเลขซ้ำกันได้ โดยสามารถลุ้นรางวัลได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) รางวัล 3 ตัวตรง 2) รางวัล 3 ตัวสลับหลัก หรือที่เรียกว่า โต๊ด  3) รางวัล 2 ตัวตรง  และ 4) รางวัลพิเศษ (แจ๊คพอต) โดยจะสุ่มหมายเลขจากสลากที่ถูกรางวัล 3 ตัวตรง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการเล่นหวยใต้ดิน และการพนันผิดกฎหมายให้น้อยลง รวมถึงเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ  อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่า การพนันจะถูกหรือผิดกฎหมายก็เป็นอบายมุข  และเป็นสิ่งเสพติดอย่างหนึ่ง และการที่ภาครัฐได้ส่งเสริมการพนันแบบถูกกฎหมาย ย่อมทำให้เกิดนักพนันหน้าใหม่จำนวนมาก โดยเฉพาะนักพนันที่เป็นเด็กและเยาวชน ดังนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการป้องกัน และแนวทางการแก้ปัญหาจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
  4. 4. ร้านค้าขนาดเล็ก หาบเร่แผงลอยที่ตั้งอยู่ริมถนน และบริเวณทางเท้าจำนวนมากมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แต่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนกับภาครัฐ ทั้งนี้ ผู้ค้าขายเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของภาครัฐ อีกทั้ง ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการขึ้นทะเบียนร้านค้า  จึงขอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องช่วยลงพื้นที่ไปยังร้านค้าต่าง ๆ และช่วยดำเนินการขึ้นทะเบียนให้กับร้านค้า หาบเร่แผงลอยอย่างทั่วถึง

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.50 และ 31.30  ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 30.40 และ 36.80 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 34.20, 37.40 และ 34.10 ตามลำดับ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics