มรภ.สงขลา เฟ้นหา นศ. ตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567  แก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมศักยภาพ สร้างอาชีพให้ชุมชน

มรภ.สงขลา เฟ้นหา นศ. ตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567  แก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมศักยภาพ สร้างอาชีพให้ชุมชน
Spread the love

มรภ.สงขลา เฟ้นหา นศ. ตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567  แก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมศักยภาพ สร้างอาชีพให้ชุมชน
 
 
มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน จัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567 เปิดเวทีนักศึกษานำเสนอผลงาน นำองค์ความรู้และนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพภูมิปัญญา ปลูกจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับฐานราก ส่งเสริมศักยภาพ สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน
 
มรภ.สงขลา เฟ้นหา นศ. ตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567  แก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมศักยภาพ สร้างอาชีพให้ชุมชน
 
วันที่ 4 เมษายน 2567 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 ณ ห้อง Presentation Room อาคาร 2 ชั้น 2 มรภ.สงขลา กล่าวรายงานโดย อาจารย์พุฒิธร ตุกเตียน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และกล่าวโอวาท ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา และบรรยายพิเศษด้านการออม ความรู้ทางการเงิน การทำบัญชี โดย นายธัชกวินท์ รัตตโน ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 18 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน เพื่อนำเสนอโครงการย่อยของนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นตัวแทนนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 5 ทีม ได้แก่ ทีมวิสาหกิจชุมชนบ้านสวนร้อยพันธุ์สุวรรณมณี ทีมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ากระแสสินธุ์ ทีมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบาโหย ทีม วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านโหนด-เปียน และ ทีมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองโอน
 
มรภ.สงขลา เฟ้นหา นศ. ตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567  แก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมศักยภาพ สร้างอาชีพให้ชุมชน
 
รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า การแก้ปัญหาความยากจนถือเป็นโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญและกำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องผนึกกำลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานของความพอดีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการส่งเสริมการจ้างงาน โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว แต่เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมด้วย
 
 
มรภ.สงขลา จึงร่วมกับธนาคารออมสินดำเนินโครงออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับฐานราก การสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนที่กระจายอยู่ในท้องถิ่น การส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กร ชุมชน ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถเข้าสู่ตลาดการค้าโดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมของ มรภ.สงขลา มาพัฒนายกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้ชุมชน ส่งผลให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง มั่นคง ตรงกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
 
 
ด้าน อาจารย์พุฒิธร ตุกเตียน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวว่า ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา ได้ร่วมกับธนาคารออมสินดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษา มาพัฒนายกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น ให้มีศักยภาพและมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดยการร่วมเรียน ร่วมรู้และร่วมทำในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านการจัดทำบัญชีต้นทุนสินค้า ด้านการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งทางออนไลน์ ออฟไลน์ อันจะนำไปสู่ความมั่นคงในอาชีพ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับชุมชน
อย่างยั่งยืน
 
 
การดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ส่งผลให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง มั่นคง และเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนและเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้ตระหนักและรู้จักการรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน มองเห็นถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งมีจิตสำนึกในการรักประเทศชาติและถิ่นฐานบ้านเกิด
Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics