มรภ.สงขลา นำ นศ. ทำบ้านปลา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

Spread the love

มรภ.สงขลา นำ นศ. ทำบ้านปลา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

มรภ.สงขลา นำ นศ. ทำบ้านปลา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

มรภ.สงขลา นำนักศึกษาลงพื้นที่เก็บขยะบริเวณหาดบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว เรียนรู้วิธีทำบ้านปลา (ซั้งกอ) ใช้เป็นแหล่งอาศัยสัตว์น้ำวัยอ่อน พร้อมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชน ควบคู่ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

มรภ.สงขลา นำ นศ. ทำบ้านปลา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

            เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2565 อาจารย์จิรภา  คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วย นายอาริยะวัฒน์ ชำนาญกิจ นายกองค์การนักศึกษา ภาคปกติ และนักศึกษา มรภ.สงขลา ลงพื้นที่หาดบ่ออิฐ หมู่ที่ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทำบ้านปลา และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล จัดโดยองค์การนักศึกษา ภาคปกติ ภายในงานมีการบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดย นายยุคคล เหมบัณฑิต หัวหน้ากลุ่มบริหารด้านการประมง สำนักงานการประมง จังหวัดสงขลา การบรรยาย เรื่อง ขั้นตอนการสร้างบ้านปลา (ซั้งกอ) และฝึกปฏิบัติทำบ้านปลา โดย นายยุดี หมัดเจริญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ตำบลเกาะแต้ว โดยได้ร่วมกันเก็บขยะและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงสู่หาดบ่ออิฐ ด้วยความมุ่งหวังให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำการประมง และผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

             อาจารย์จิรภา  คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มรภ.สงขลา ประธานในพิธีเปิด  กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน (บ้านปลาหรือซั้งกอ) เกิดการเสื่อมโทรมและชำรุด เนื่องจากจัดทำขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลกระทบให้สัตว์น้ำมีพื้นที่หลบซ่อนตัวในช่วงวัยตัวอ่อนไม่เพียงพอ และพันธุ์สัตว์น้ำมีจำนวนลดน้อยลง การจัดสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน (บ้านปลาหรือซั้งกอ) และการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่เขตอนุรักษ์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์น้ำมีพื้นที่หลบซ่อนตัวในช่วงวัยอ่อน ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชนในบริเวณนั้นด้วย และช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศที่ถูกทำลายไปให้กลับมาสวยงามมากขึ้น

มรภ.สงขลา นำ นศ. ทำบ้านปลา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

             ประกอบกับปัญหาขยะในแหล่งน้ำธรรมชาติ ถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่ขาดการแก้ไขอย่างถูกต้อง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนส่งผลให้ปัญหาขยะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น มีการปล่อยขยะลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญเกิดความเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ทั้งต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ที่ได้รับบาดเจ็บจากขยะบริเวณริมชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่มีสาเหตุการตายมาจากการกินขยะ ตลอดจนส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว จากความสำคัญดังกล่าว มรภ.สงขลา จึงให้ความสำคัญต่อการจัดโครงการที่เกี่ยวข้องกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงานด้านนี้ต่อไป

             ด้าน นายอาริยะวัฒน์ ชำนาญกิจ นายกองค์การนักศึกษา ภาคปกติ มรภ.สงขลา กล่าวว่า ทุกวันนี้ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญ เช่น ปะการัง หญ้าทะเล ป่าชายเลน และชายหาด เกิดความเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ทั้งของสัตว์ทะเลและมนุษย์ที่ได้รับบาดเจ็บจากขยะบริเวณริมชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่มีสาเหตุการตายมาจากการกินขยะ ตลอดจนส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์น้ำมีพื้นที่หลบซ่อนตัวในช่วงวัยอ่อน อันจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชนในบริเวณนั้น อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศที่ถูกทำลายให้กลับมาสวยงามมากขึ้น องค์การนักศึกษา ภาคปกติ มรภ.สงขลา เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศจึงได้จัดโครงการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในเรื่องการทำบ้านปลา (ซั้งกอ) และได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลโดยการสร้างบ้านปลาและการปล่อยพันธุ์ปลา

มรภ.สงขลา นำ นศ. ทำบ้านปลา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics