วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล”

Spread the love

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล”

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล”

วิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับ สถาบันปฎิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ จัดโครงการเสริมสร้างความผูกพันกับชุมชน : รอบรั้ว ม.ทักษิณ (IC Community  Engagement)    กิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล” โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการพัฒนาระบบ และกลไกการสร้างความร่วมมือกับชุมชนเพื่อนำไปสู่สากลอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ณ แปลงนาข้าวอินทรีย์ หมู่ที่ 12 บ้านท่าน้ำตก ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ เกษราธิคุณ  คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ  พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงศ์ โอทอง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ/อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร.บัณฑิต ทองสงฆ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษา แบบบูรณาการพร้อมด้วยบุคลากร สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 4 คน บุคลากร สังกัดสถาบันปฎิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ จำนวน 7 คน บุคลากรกัดฝ่ายสื่อสารองค์กร จำนวน 2 คน ผู้นำชุมชนและชาวบ้านชุมชนตะโหมด จำนวน 10 คน  คณะครู และ นักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง จำนวน 30 คน รวม 53 คน โดยมีพระครู ดร.สุนทรกิจจานุโยค เจ้าอาวาสวัดตะโหมด  กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

           มหาวิทยาลัยทักษิณ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้ง เพื่อการขับเคลื่อนปณิธาน “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ของมหาวิทยาลัยทักษิณอย่างยั่งยืน โดยมีนโยบาย สนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์กับองค์กร  ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนพันธกิจที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย กับสังคมในระดับชุมชน สังคม ให้เกิดความเข้มแข็ง ภายใต้ปณิธานมหาวิทยาลัยทักษิณ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ที่มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัย ทักษิณเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิชาการเพื่อสังคม การพัฒนาระบบ บริหารจัดการ ตลอดจนความร่วมมือระหว่าง “มหาวิทยาลัย” กับ “สังคม” ที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยมี เป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น และสร้าง Engage Citizens ซึ่งหมายรวมถึงนิสิต บัณฑิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย

ชุมชนตะโหมด” ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่มีผลงานที่หลากหลาย โดยชุมชนใช้สภาลานวัดตะโหมดเป็นศูนย์กลางจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกำหนดทิศทางการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  โดยนำวามรู้จากการปฏิบัติผนวกกับความรู้ทางวิชาการผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมต่อการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า จนเกิดความผูกพันของคนในชุมชนละนำมาสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากกิจกรรมดำนาข้าวสังข์หยดอินทรีย์ โดย ครูชุมชน บุคลากรมหาวิทยลัยทักษิณ บุคลากรและ นักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง แล้วยังมีกิจกรรมสร้างสรรค์ความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยการแข่งกีฬาสานสัมพันธ์ชุมชน การแข่งขัน “ชักเชือกในเทือกเวียน” การแข่งขัน “แชร์บอลนอนเทือก”  การแข่งขัน “วอลเลย์บอลนอนเทือก”

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล” วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล”
วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล”
Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics